นมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ

นมัสการมาตาปิตุคุณ

 110180591[1]

ผู้แต่ง    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

paragraph_857

จุดประสงค์  เพื่อสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา

ารมาตาปิตุคุณ  

     ข้าขอนบชนกคุณ                ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                             ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม                       บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร                      บ คิดยากลำบากกาย                                         
ตรากทนระคนทุกข์                    ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย                    จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ                   ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                         ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด                       จะสนองคุณานันต                                                                                                  แท้บูชไนยอัน                                อุดมเลิศประเสริฐคุณ”                    

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง     ไม่มีพระคุณของผู้ใดจะยิ่งใหญ่เท่ามารดา                                 flower14     

ถอดความ     บทกวีนี้ กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต   คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง  แม้จะ ลำบากเท่าไรก็อดทนได้ เลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม ปกป้องอันตราย จนรอดพ้นอันตราย เติบใหญ่  เป็นตัวเป็นตน เปรียบประคุณของบิดามารดายิ่งกว่าภูเขา  หรือแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนพระคุณ มากล้นนี้ได้ด้วยการบูชาอันวิเศษสมบูรณ์เลิศล้ำ

 

นมัสการอาจริยคุณ

 original_teacherg[1]

ผู้แต่ง   พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)

paragraph_857

จุดประสงค์  เพื่อนมัสการและสรรเสริญพระคุณของครู อาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนและให้ความรู้แก่ศิษย์ทั้งหลาย

 

นมัสการอาจริยคุณ

            อนึ่งข้าคำนับน้อม               ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน                        อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ                   ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                            ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา                          และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์        ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม-                     หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์                            ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ                            ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน                          จิตน้อมนิยมชม

     ถอดความ   กล่าวแสดงขอความเคารพนอบน้อมต่อครู  ผู้มีความกรุณา  เผื่อแผ่อบรมสั่งสอนศิษย์ทุกสิ่ง   ให้มีความรู้ ทั้งความดี ความชั่ว ชั่วขยายความให้เข้าใจแจ่มแจ้ง มีเมตตากรุณา กรุณาเที่ยงตรง  เคี่ยวเข็ญให้ฉลาดหลักแหลม  ช่วยกำจัดความโง่เขลา ให้มีความเข้าใจแจ่มชัด พระคุณดังกล่าวนี้  ถือว่าเป็นเลิศในสามโลกนี้  ควรระลึกและน้อมใจชื่นชมยกย่อง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง     ครูเป็นผู้ชี้แจง  อบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรมพระคุณของครูนับว่า สูงสุดจะป็นรองก็เพียงแต่บิดามารดาเท่านั้น

 

 beeanbeean

พระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย  อาจารยางกูร )

          พระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกูร ) ( ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๕ – ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๔ ) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า “ แบบเรียนหลวง ” ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่องงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง “ รามเกียรติ์ ” รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๐๐ ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง

ตัวอย่างผลงาน

มูลบทบรรพกิจ สังโยคภิธานแปล
วาหนิติ์นิกร วิธีสอนหนังสือไทย
อักษรประโยค มหาสุปัสสีชาดก
สังโยคภิธาน วรรณพฤติคำฉันท์
ไวพจน์พิจารณ์ ฉันท์กล่อมช้าง
พิศาลการันต์ ฉันทวิภาค
อนันตวิภาค ร่ายนำโคลงภาพพระราชพงศาวดาร
เขมรากษรมาลา ( เป็นแบบหนังสือขอม ) โคลงภาพพระราชพงศาวดาร รูป ๖๕ และ ๘๕
นิติสารสาธก คำนมัสการคุณานุคุณ
ปกีรณำพจนาตถ์ ( คำกลอน ) สยามสาธก วรรณสาทิศ
ไวพจน์ประพันธ์ พรรณพฤกษา
อุไภยพจน์ สัตวาภิธาน

 

 MM900283665

ลักษณะคำประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

         ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของร้อยกรองในภาษาไทย โดยแต่งกันเป็นคณะ มี ครุ และ ลหุ และสัมผัส กำหนดเอาไว้ด้วย ฉันท์ในภาษาไทยได้ถ่ายแบบมาจากประเทศอินเดีย ตามตำราที่เขียนถึงวิธีแต่งฉันท์ไว้ เรียกว่า “ คัมภีร์วุตโตทัย ” ซึ่งแต่เดิมฉันท์จะแต่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต

ต่อมา เมื่อเผยแพร่ในประเทศไทย จึงเปลี่ยนแบบมาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติมสัมผัสต่าง ๆ ขึ้นมา แต่ยังคงคณะ ( จำนวนคำ ) และเปลี่ยนลักษณะครุ – ลหุแตกต่างไปเล็กน้อย นอกจากนี้ยังเพิ่มความไพเราะของภาษาไทยลงไปอีกด้วย

“ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ” มีความหมายว่า “ ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์ ”เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด  มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี ๑๑  แต่แตกต่างกันที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์มีข้อบังคับ ครุ และ ลหุ

ตัวอย่างคำประพันธ์

           “ บงเนื้อก็เนื้อเต้น                            พิศเส้นสรีร์รัว

          ทั่วร่างและทั้งตัว                              ก็ระริกระริวไหว

         แลหลังละลามโล-                              หิตโอ้เลอะหลั่งไป

        เพ่งผาดอนาถใจ                              ระกะร่อยเพราะรอยหวาย

                                       จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ –  ชิต บุรทัต

หลักการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม

ความหมาย

            การพินิจ คือ การพิจารณาตรวจตรา พร้อมทั้งวิเคราะห์แยกแยะและประเมินค่าได้ทั้งนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพื่อนำไปแสดงความคิดเห็นและข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย เช่น การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อแนะนำให้บุคคลทั่วไปที่เป็นผู้อ่านได้รู้จักและได้ทราบรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์ต่อใครบ้าง ทางด้านใด ผู้พินิจมีความเห็นว่าอย่างไร คุณค่าในแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวัน

แนวทางในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม

        การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมมีแนวให้ปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกชนิด ซึ่งผู้พินิจจะต้องดูว่าจะพินิจหนังสือชนิดใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งจะมีแนวในการพินิจที่จะต้องประยุกต์หรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานเขียนนั้น ๆ

หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม มีดังนี้

๑.  ความเป็นมา หรือ ประวัติของหนังสือและผู้แต่ง   เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ ได้ดีขึ้น

๒.  ลักษณะคำประพันธ์

๓.  เรื่องย่อ

๔.  เนื้อเรื่อง

        ให้วิเคราะห์เรื่องตามหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการดำเนินเรื่อง การใช้ถ้อยคำสำนวนในเรื่อง ท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดที่สร้างสรรค์  ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น

๕.  แนวคิด จุดมุ่งหมาย

       เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง หรือบางทีก็แฝงเอาไว้ในเรื่อง ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ออกมา

๖.  คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

          ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น ๔ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น   ซึ่งผู้พินิจจะต้องไปแยกแยะหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะหนังสือที่จะพินิจนั้น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป

การพินิจคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

มี ๔ ประเด็นดังนี้

๑.  คุณค่าด้านวรรณศิลป์

         คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากรสของคำที่ผู้แต่งเลือกใช้และรสความที่ให้ความหมายกระทบใจผู้อ่าน

๒.  คุณค่าด้านเนื้อหา

      คือ การให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ให้คุณค่าทางปัญญาและความคิดแก่ผู้อ่าน

๓.  คุณค่าด้านสังคม

          วรรณคดีและวรรณกรรมสะท้อนให้เห็นภาพของสังคมในอดีตและวรรณกรรมที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย

๔.  การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

         เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้ความคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต นำไปเป็นแนวปฏิบัติหรือแก้ปัญหา

 

 246443_kroodee_2012_04_14_1334411731_435461569780726894[1]

 

 

 

ใส่ความเห็น